แชร์

ติดตั้งปั๊มน้ำอย่างไรให้ปลอดภัยเเละถูกต้อง

อัพเดทล่าสุด: 26 ก.ค. 2024
12064 ผู้เข้าชม
ติดตั้งปั๊มน้ำอย่างไรให้ปลอดภัยเเละถูกต้อง

ปั๊มน้ำ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยเพิ่มแรงดันน้ำ ทำให้น้ำประปาในบ้านไหลแรง และมีแรงดันน้ำที่สม่ำเสมอ การติดตั้งปั๊มน้ำสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเองครับ ขั้นตอนแรกต้องเลือกปั๊มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งานในบ้าน HARDMAN จะพาไปรู้จักกับ การต่อปั๊มน้ำ และวิธีติดตั้งปั๊มน้ำ อย่างไรให้ถูกวิธี 

ปั๊มน้ำ คืออะไร?
ปั๊มน้ำ คือ เครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย Mechanic และ Electricity / Engine มี 2 ส่วน คือ หัวปั๊ม มอเตอร์ และมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่ เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยแรงดัน และปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าต้องการน้ำในปริมาณมาก แรงดันจะน้อย ถ้าหากต้องการน้ำในน้อย แรงดันจะมาก

ถ้าแบ่งประเภทของกลุ่มใช้งานแบบคร่าวๆ  เราจะสามารถแบ่งปั๊มน้ำออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ

  1. ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม
  2. ใช้ในกลุ่มที่อยู่อาศัย และถ้าแบ่งปั๊มน้ำย่อยลงมาอีก จะสามารถแบ่งปั๊มน้ำได้อีกหลายประเภท ปั๊มสำหรับที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ จะรวมไปถึงอาคารขนาดเล็ก 5-7 ชั้น  รวมไปถึงอาคารสูง10 ชั้นไป
ปั๊มน้ำเป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงดันน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังหมุนส่งกำลังให้ปั๊มน้ำทำงาน เพิ่มแรงดันให้น้ำ และส่งน้ำไปตามท่อ ปั๊มน้ำในบ้านโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
  1. ปั๊มน้ำแบบลูกสูบ ทำงานด้วยการชักลูกสูบเลื่อนไป-มา และมีวาล์วเปิด-ปิดน้ำเข้า-ออก จากลูกสูบ เป็นการเพิ่มแรงดันให้น้ำโดยตรง เป็นที่นิยมใช้เมื่อหลายปีที่แล้ว ปัจจุบันมีใช้น้อยมาก ข้อดี คือได้แรงดันน้ำสูง แต่มีข้อเสีย คือ ที่ปริมาณน้ำน้อย และมีการสึกหรอมาก เพราะมีชิ้นส่วนเคลื่อนที่มาก
  2. ปั๊มน้ำแบบใบพัด ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดในเสื้อปั๊มที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะ ทำให้เกิดแรงดันในเสื้อปั๊ม จ่ายน้ำไปตามท่อได้ ส่วนใหญ่มีท่อดูดทางด้านหน้าตรงกลางของปั๊ม และมีท่อออกด้านข้างในแนวเส้นสัมผัสกับตัวปั๊ม มีข้อดีคือขนาดเล็ก หลักการทำงานง่าย ชิ้นส่วนไม่มาก จ่ายน้ำได้ปริมาณมาก  สร้างแรงดันน้ำได้มากพอควร ถ้าต้องการแรงดันสูง สามารถนำปั๊มมาต่อกันเป็นแบบมัลติสเตทได้ ปัจจุบันนิยมใช้ปั๊มน้ำแบบใบพัดเป็นปั๊มน้ำภายในบ้าน ปั๊มแบบใบพัด มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามลักษณะรูปร่าง และการใช้งาน เช่น ปั๊มบ้าน ปั๊มหอยโข่ง ปั๊มไดโว่ เป็นต้น 

 การติดตั้งปั๊มน้ำ มีกี่แบบ?

การติดตั้งปั๊มน้ำ มี 2 แบบ ก็คือ 1) แบบไม่มีถังเก็บน้ำ และ 2) แบบที่ต้องใช้ถังเก็บน้ำ
แบบที่ 1 ไม่ติดตั้งถังน้ำ
สำหรับการใช้งานที่ต้องการให้น้ำไหลแรงขึ้น โดยเป็นการใช้งานที่ต้องการแรงดันน้ำให้ไหลไปยังชั้น 2 หรือเพื่อให้น้ำไหลแรงขึ้น แต่มีถังหรือที่เก็บน้ำรองรับไว้เรียบร้อยแล้วเท่านั้นเองครับ เพราะบางบ้านอยากได้แค่ปั๊ม เพื่อให้น้ำแรงขึ้นเท่านั้นเอง แต่ปลายทางของปั๊มก็ต้องเป็นท่อที่ต่อเข้ากับถังอื่น ๆ หรือพื้นที่เก็บน้ำที่สร้างไว้ในบ้าน หากต่อเข้ากับระบบท่อประปาหลักในบ้านโดยตรง อาจจะทำให้แรงดันมากเกินไป (หากลืมเปิดปั๊มทิ้งไว้ เพราะน้ำจะไหลกระจายแรงออกสู่ทุกทาง เสี่ยงต่อข้อต่อหลุดได้) ดังนั้นการต่อสายที่ออกมาจากปั๊ม ก็จะสร้างเส้นทางเดินน้ำพิเศษกว่าการเดินท่อประปาหลักในบ้าน

แบบที่ 2 ติดตั้งถังน้ำ
ถังน้ำ เป็นตัวช่วยสำหรับให้มีน้ำอุปโภคบริโภคแบบพอดี โดยปั๊มน้ำจะมีหน้าที่ 2 อย่าง ก็คือ 1) ปั๊มน้ำเข้าถังน้ำ และ 2) ปั๊มน้ำออกจากถังน้ำ ซึ่งเหมาะกับบ้าน 2 ชั้นขึ้นไป และหอพักต่าง ๆ ที่มีการใช้น้ำปริมาณมากต่อวัน ให้เพียงพอต่อการซักผ้า, อาบน้ำ ถังน้ำมีให้เลือกซื้อหลายขนาด

 ระบบการติดตั้งปั๊มน้ำภายในบ้าน

การต่อปั๊มน้ำกับทั้งน้ำแบบทั่วไป สามารถเดินสายระบบให้ทิศทางของน้ำที่ออกจากเครื่องปั๊ม เข้าไปยังถังโดยตรง หรือ ติดตั้งอุปกรณ์เช็ควาล์ว เพื่อเปิดปิดควบคุมให้น้ำไหลในทิศทางย้อนกลับได้ ซึ่งช่วยให้น้ำประปาไหลแรงขึ้นได้ ดังนี้

1) ติดตั้งวาล์วน้ำ แบบ 2 ระบบ หรือ 3 ระบบ
หากน้ำประปาสายหลักที่ไหลเข้าบ้านไม่ค่อยแรง ต้องเปิดวาล์วน้ำทุกตัว และเปิดปั๊มน้ำ และหากน้ำประปาสายหลักไม่ค่อยแรง ให้ปิดปั๊มน้ำ และเปิดวาล์วเฉพาะตัวที่ 2 และ 3 ดังนี้ 

 (การต่อปั๊มน้ำ เพื่อให้น้ำออกจากถัง)

2) ติดตั้งวาล์วน้ำ แบบ 4 ระบบ
หากน้ำประปาสายหลักไหลอ่อน เมื่อต้องการให้น้ำเข้าถังน้ำ ให้เปิดวาล์วตัวที่ 3 – 5 และเปิดปั๊มน้ำ และเมื่อน้ำเต็มถังแล้วสามารถเปิดเฉพาะวาล์วตัวที่ 2 และ 3 เพื่อใช้น้ำในวันอื่น ๆ ได้

 (การต่อปั๊มน้ำ เพื่อให้น้ำออกเข้าถัง)

ต้องติดปั๊มน้ำกี่ตัว?

นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งระบบปั๊มน้ำแบบอื่น ๆ ที่สามารถประยุกต์ได้ตามความเหมาะสม และจำนวนชั้นของบ้าน ซึ่งต้องดูที่แรงดันที่ระบุไว้ในตัวเครื่อง จึงจะสามารถคำนวนได้ว่าใช้กี่จุด เพราะแต่ละแบรนด์ก็ให้กำลังไฟฟ้าไม่เท่ากัน โดยพี่จระเข้มีคำแนะนำให้เลือกเครื่องปั๊มน้ำ ดังนี้
1) เลือกจากความคุ้มค่า ทนทาน ตามที่คุณคิดว่าเหมาะสม โดยดูจากรับประกันหลังการขาย และรับประกันมอเตอร์
2) เลือกจากกำลังไฟ ที่มีตั้งแต่ 200 วัตต์ขึ้นไป ยิ่งกำลังไฟมาก ยิ่งปั๊มน้ำได้ดี
3) มีระบบตัดไฟป้องกันการลัดวงจรในตัวเครื่องอัตโนมัติ
4) อื่น ๆ เช่น ดูแลรักษาง่าย หรือหากติดตั้งไว้นอกบ้านจะมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดและฝน เป็นต้น

ข้อควรระวังในการ ติดตั้งปั๊มน้ำ

การติดตั้งปั๊มน้ำ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ขั้นตอนแรกต้องเลือกปั๊มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งานในบ้าน ดูว่าบ้านมีกี่ชั้น มีจำนวนคนในบ้านกี่คน ปริมาณการใช้น้ำมากน้อยเท่าไร โดยแรงดันทั่วไปที่อุปกรณ์ประปาต้องการจะอยู่ที่ประมาณ 10-20 เมตร เพื่อให้น้ำไหลได้ในอัตราที่ต้องการ เมื่อเลือกขนาดปั๊มน้ำได้แล้ว ก็มาดูพื้นที่ในการติดตั้ง โดยเลือกที่สะดวก ปลอดภัย หากปั๊มน้ำมีปัญหา ต้องสามารถยกออกและตรวจซ่อมได้ง่าย เมื่อเช็คพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ลงมือติดตั้งปั๊มน้ำได้เลย แต่อย่าลืมว่า การติดตั้งเอง ก็มีข้อควรระวังเป็นพิเศษ ดังนี้

  • ควรติดตั้งปั๊มในที่ร่ม กันแดด กันฝน อาจทำหลังคา หรือกล่องใหญ่ๆคลุม แบบบ้านหมาก็ได้ ต้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และยกออกได้ ตรวจซ่อมปั๊มได้ง่าย แม้ว่าปั๊มส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้ติดตั้งภายนอกได้ แต่ปั๊มที่อยู่ในที่ร่มจะทนกว่ามาก และปลอดภัยกว่ามากด้วย โดยเฉพาะปั๊มที่มีกล่องควบคุมแบบอิเลคทรอนิคติดที่ตัวปั๊ม
  • ควรติดตั้งปั๊มบนฐานรอง ให้ปั๊มสูงจากพื้นเล็กน้อย น้ำไม่ท่วมขัง ปั๊มจะทนมากขึ้น ไม่เป็นสนิม และปลอดภัย ลดโอกาสไฟฟ้ารั่ว
  • ติดตั้งปั๊มห่างจากผนังอย่างน้อย 10 เซนติเมตร ประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปั๊มจะได้ไม่ร้อนมากขณะทำงาน ช่วยให้ปั๊มทนขึ้นอีกแล้ว
  • ทั่วไปปั๊มจะมีใบพัดระบายความร้อนอยู่ด้านท้ายของปั๊ม ทำหน้าที่หมุนดูดอากาศผ่านด้านข้างตัวปั๊มเพื่อระบายความร้อน ควรติดตั้งในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรคอยตรวจดูอย่าให้มีใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ติด ขวางทางระบายความร้อนของปั๊ม

  • การติดตั้งท่อควรระวังอย่าให้มีสิ่งสกปรก เศษวัสดุ เศษท่อพี.วี.ซี.(ท่อพี.วี.ซี.ควรตัดด้วยกรรไกรตัดท่อพี.วี.ซี. ซึ่งให้รอยตัดที่เรียบ ไม่มีเศษพลาสติก) เศษเกลียวท่อ เทปพันเกลียว เข้าไปในท่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดขัดใบพัดปั๊ม ติดขัดที่ลูกลอยหรือวาวล์ว ต่างๆในระบบน้ำ
  • ท่อดูดและท่อจ่ายน้ำของปั๊ม ไม่ควรเล็กกว่าขนาดของจุดต่อท่อของปั๊ม การใช้ท่อเล็กจะทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มไม่ดี ไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ระบุในสเปค
  • ไม่ควรต่อปั๊มดูดน้ำโดยตรงจากท่อประปา เนื่องจากจะทำให้ดูดสิ่งสกปรกในท่อประปาเข้ามาโดยตรวจ ถ้าท่อประปารั่วก็จะดูดน้ำสกปรกหรืออากาศเข้ามา และผิดระเบียบการใช้น้ำของการประปา ควรต่อท่อประปาเข้าถังเก็บน้ำแล้วใช้ปั๊มดูดน้ำจากถังเก็บจ่ายเข้าบ้าน

การต่อระบบไฟฟ้าเข้ากับปั๊มน้ำ

  • ควรเลือกขนาดสายที่สามารถรับกระแสไฟฟ้าที่ปั๊มใช้ได้เพียงพอ ถ้าใช้สายเล็กจะทำให้สายร้อนและละลายได้
  • ควรติดตั้งสายไฟที่จุดต่อสายไฟในตัวปั๊ม ไม่ควรใช้การเสียบปลั๊ก หรือตัดปลายปลั๊กแล้วต่อสาย สายไฟไม่
  • ควรมีจุดตัดต่อที่กลางสาย
  • ควรมีชุดเบรกเกอร์ควบคุมปั๊มต่างหาก 1 ชุด เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการซ่อม
  • ถ้าต้องเดินสายไฟฟ้านอกอาคารไปยังปั๊ม ควรเดินสายไฟโดยการร้อยในท่อพี.วี.ซี. สีเหลือง ซึ่งใช้สำหรับเดินสายไฟนอกอาคาร
  • ควรทำงานติดตั้งด้วยความละเอียด เรียบร้อย โดยใช้ช่างที่มีความรู้โดยตรง หรือศึกษาข้อมูลก่อนทำงานติดตั้ง การติดตั้งต่อท่อน้ำ ต่อไฟให้ปั๊มน้ำทำงานนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การติดตั้งให้ดี ปลอดภัย เรียบร้อย ต้องใช้ความรู้และความชำนาญพอสมควร
  • การติดตั้ง – ซ่อม ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟฟ้า ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญโดยตรง และตัดไฟฟ้าก่อนทำการซ่อม-ติดตั้ง

 

เดี๋ยวนี้มีเครื่องปั๊มน้ำหลายรุ่นให้เลือก และออกแบบให้สร้างแรงดันน้ำได้สม่ำเสมออัตโนมัติ บวกกับมีตัวตัดไฟป้องกันมอเตอร์ไหม้ เพื่อป้องกันอัคคีภัย และสุดท้ายนี้หากคุณวางแผนติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำอย่าลืมเลือกท่อประปาที่มีขนาดพอเหมาะกับแรงดันน้ำ เพราะมีส่วนโดยตรงที่จะทำให้กระแสน้ำไหลแรงหรือเบา รวมถึงข้อต่อต่าง ๆ ก็ต้องเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำประปาให้สะอาด ได้ใช้อย่างปลอดภัยนะครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ