share

มารู้จัก 4 ประเภทตู้เชื่อม เครื่องเชื่อม ต่างกันอย่างไร

Last updated: 31 Oct 2023
11303 Views
มารู้จัก 4 ประเภทตู้เชื่อม เครื่องเชื่อม ต่างกันอย่างไร

ตู้เชื่อม หรือ เครื่องเชื่อม เป็นอุปกรณ์ช่างที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็น งานโรงรถ งานก่อสร้าง ตลอดจนงานในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้ช่างสามารถเชื่อมและตัดโลหะได้ เช่น เหล็ก และอะลูมิเนียม ทำให้การทำงานเกี่ยวกับเหล็กและโครงสร้างทำได้สะดวกสบายมากขึ้นในทุกงาน

วันนี้ HARDMAN THAILAND เราจะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับเครื่องเชื่อม ว่าคืออะไร? และประเภทเครื่องเชื่อมทั้ง 4 แบบ แต่ละแบบเป็นอย่างไร? 

1. เครื่องเชื่อมคืออะไร?

ตู้เชื่อมไฟฟ้า (Welding Machine) อุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรงสำหรับงานช่างเชื่อม เป็นการใช้ไฟฟ้าในการเชื่อมชิ้นงานระหว่างโลหะเข้าด้วยกัน หรือการทำให้ติดกันตามความต้องการของงานนั้นๆ โดยในการทำงานของตู้เชื่อมไฟฟ้าจะอาศัยความร้อนจากตู้เชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้โลหะหรือเหล็กละลายในปัจจุบันมีตู้เชื่อมไฟฟ้ามากมายหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำไปใช้งานไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมแบบการอาร์คไฟฟ้าการเชื่อมแบบอาร์กอน และมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆที่ดีขึ้น ส่งผลให้ตู้เชื่อมไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่าเดิม มีขนาดกะทัดรัดสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย

 

2. ประเภทตู้เชื่อม ที่ควรรู้จัก

ต่อไปเรามาดูกันว่า ตู้เชื่อมแต่ละที่นำมาใช้กันในอุตสาหกรรมจริงๆ มีอะไรบ้าง ประเภทตู้เชื่อมแบบไหนที่เหมาะกับงานของเรา ตามไปดูกันเลย

2.1 เครื่องเชื่อมอาร์กอน

เครื่องเชื่อมอาร์กอน หรือ เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) เป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบใช้พลังงานจากอาร์กที่ใช้แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม โดยบริเวณบ่อหลอมจะมีแก๊สเฉื่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 แบบ ระบบเชื่อมอาร์กอน TIG ระบบเชื่อมธูป ระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC 

ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-)  แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน

✅ข้อดี
ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG คือ แนวเชื่อมสวยงาม ชิ้นงานเนียบมีคุณภาพ สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ ไม่ต้องใช้ลวดเติม สามารถเชื่อมชิ้นงานบางๆได้ ทั้งสแตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง เครื่องเชื่อม TIG บางรุ่นสามารถทำการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์

⛔ข้อเสีย
ข้อเสียของการใช้ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG คือ เชื่อมได้ช้า ราคาค่อนข้างแพง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ต้องใช้แก๊ส เป็นต้น

ดังนั้น  ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG เหมาะสำหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (ชิ้นงานที่บาง ๆ)

 

2.2 เครื่องเชื่อม co2  

เครื่องเชื่อม co2 (เครื่องเชื่อมคาร์บอน) หรือ เรียกกันในอีกชื่อว่า เครื่องเชื่อม mig ( Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมมิก เป็นเครื่องเชื่อมที่สามารถใช้แก๊สคาร์บอนผสมเข้าไปเพื่อใช้ในการเชื่อม และไม่จำเป็นจะต้องป้อนลวดเข้าไปเหมือนเครื่องเชื่อมอาร์กอน เพราะมันสามารถป้อนเนื้อลวดลงบนที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่องได้

แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชนิดของโลหะที่ต้องการเชื่อม ก็จะต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวดเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะอย่างมากสำหรับเหมาะกับโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เชื่อมโลหะจำนวนมาก หลากหลายรูปแบบ

✅ข้อดี
ข้อดีของการใช้เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG คือ เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว เครื่องเชื่อม CO2 สามารถเชื่อมแบบป้อนลวดเติมแบบอัตโนมัติ การเชื่อม CO2 สามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้องเปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อย ๆ

⛔ข้อเสีย
ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG คือ ราคาค่อนข้างสูง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและใช้แก๊ส ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ ใช้กระแสไฟสูง

ดังนั้น  เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานได้ทุกประเภท



2.3 เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้ความร้อนที่เกิดจากอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode) กับชิ้นงาน เป็นพลังงานในการเชื่อม โดยจะต้องต่อไฟตรงเข้าไปในตู้เพื่อสร้างพลังงานออกมา

เครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สเตนเลส และอาจเชื่อมอะลูมิเนียมได้หากมีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป

✅ข้อดี
ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA)  คือ เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส

⛔ข้อเสีย
ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA)  คือ เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส

ดังนั้น ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA) เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมงานเหล็ก,สแตนเลส จนถึงช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม


2.4 เครื่องตัดพลาสมา

เครื่องตัดพลาสมา (Plasma) เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ในการตัดโลหะ โดยจะต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้า เพื่อส่งพลังงานที่มีความเร็วสูงไปที่ตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสมา (Solid liquid gas plasma) ออกไปตัดชิ้นงาน

เครื่องตัดพลาสมาสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสเตนเลสและอะลูมิเนียมตามลำดับ

✅ข้อดี
ข้อดีของเครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) คือ ตัดโลหะได้ทุกชนิด มีความสวยงามของแนวตัดสูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย ตัดงานบางได้ดี เนื่องจากความร้อนสะสมที่ชิ้นงานน้อย ทำให้ชิ้นงานไม่เกิดการบิดงอ หรือเสียรูปและมีความปลอดภัยสูง

⛔ข้อเสีย
เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) มีราคาค่อนข้างสูง ,คุณภาพงานต้องขึ้นกับความชำนาญของผู้ใช้ ,อะไหล่สิ้นเปลืองของเครื่องตัดพลาสม่าต้องเปลี่ยนบ่อย

ดังนั้น เครื่องตัดพลาสม่าเหมาะกับการตัดโลหะ ทั้งอลูมิเนียม คาร์บอน สเตนเลส ทองแดง ทองเหลือง บรอนซ์นิกเกิลอัลลอย เซอร์โครเมียม เป็นต้น ทั้งนี้ก๊าซ (หรือลม ) ตัวกลางที่นํามาเป็นส่วนของก๊าซพลาสม่าก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้องานที่นํามาใช้ อย่างไรก็ตามคุณภาพของชิ้นงานที่ตัดก็ขึ้นอยู่กับความชํานาญของผู้ใช้เป็นส่วนสําคัญด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ